The ASSURE Model(การใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ โดยใช้แบบจำลอง)
The ASSURE Model
แบบจำลอง The
ASSURE Model มีขั้นตอนดังนี้
1.
Analyze learners (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)
การวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน
จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน 2
ลักษณะ คือ
1.
ลักษณะทั่วไป เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยตรง
ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่เรียน ระดับสติปัญญา ความถนัด วัฒนธรรม สังคม ฯลฯ
2.
ลักษณะเฉพาะ เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน
ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอน ได้แก่
2.1 ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน
2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่าน และการใช้เหตุผล
2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือไม่
2.4 ทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาที่จะเรียน
2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่าน และการใช้เหตุผล
2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือไม่
2.4 ทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาที่จะเรียน
2. State objectives (การกำหนดวัตถุประสงค์)
การเรียนการต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ที่กำหนดความสามารถของผู้เรียนว่าจะทำอะไรได้บ้าง ในระดับใด
และภายใต้เงื่อนไขใดไว้อย่างชัดเจน
เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสม
โดยวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ
โดยวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ
1.
พุทธิพิสัย
เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ
สติปัญญา และการพัฒนา
2. จิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมและการเสริมสร้างทางปัญญา
3. ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ
2. จิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมและการเสริมสร้างทางปัญญา
3. ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ
3. Select instructional methods,
media, and materials (การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่)
การที่จะมีสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนนั้น
สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ
1.
การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอน ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้วควรมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอน ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้วควรมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
• ลักษณะผู้เรียน
• วัตถุประสงค์การเรียนการสอน
• เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน
• สภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิด
• วัตถุประสงค์การเรียนการสอน
• เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน
• สภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิด
2. การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
กรณีที่สื่อการเรียนที่มีอยู่แล้วไม่เหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอน ให้พิจารณาว่าสามารถนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้หรือไม่ ถ้าปรับปรุงได้ก็ให้ปรับปรุงก่อนนำไปใช้
กรณีที่สื่อการเรียนที่มีอยู่แล้วไม่เหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอน ให้พิจารณาว่าสามารถนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้หรือไม่ ถ้าปรับปรุงได้ก็ให้ปรับปรุงก่อนนำไปใช้
3.
การออกแบบสื่อใหม่
กรณีที่สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับปรุงใช้ หรือไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการใช้ในแหล่งบริการสื่อการเรียนการสอนใดเลย ก็จำเป็นต้องออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่
กรณีที่สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับปรุงใช้ หรือไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการใช้ในแหล่งบริการสื่อการเรียนการสอนใดเลย ก็จำเป็นต้องออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่
4. Utilize media and materials (การใช้สื่อ)
ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน
มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ
1.
ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อ / ทดลองใช้
ก่อนนำสื่อการเรียนการสอนใดมาใช้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเนื้อหาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่
จะได้แก้ไขปรับปรุงได้ทัน
2.
เตรียมสภาพแวดล้อม / จัดเตรียมสถานที่
การที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก
ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อการสอนแต่ละชนิด
3.
เตรียมผู้เรียน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ดีนั้น
จะต้องมีการเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องนั้น ๆ มีการเร้าความสนใจ
หรือเน้นจุดที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ
4.
การนำเสนอ / ควบคุมชั้นเรียน
ผู้สอนที่ทำหน้าที่ผู้เสนอสื่อการเรียนการสอนนั้น ในการนำเสนอควรปฏิบัติดังนี้
4.1 ต้องทำตัวเป็นตัวกลางที่จะทำให้การนำเสนอครั้งนั้นประสบความสำเร็จ โดยการทำตัวให้เป็นธรรมชาติ
4.2 ขณะที่บรรยายนำเสนอสื่อการเรียนการสอนต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้า
4.3 ประเมินความสนใจของผู้เรียน โดยใช้การกวาดสายตามองผู้เรียนให้ทั่วทั้งชั้นซึ่งเป็นการแสดงความสนใจผู้เรียน และวิเคราะห์สีหน้า ท่าทางของผู้เรียนไปพร้อมกัน
4.1 ต้องทำตัวเป็นตัวกลางที่จะทำให้การนำเสนอครั้งนั้นประสบความสำเร็จ โดยการทำตัวให้เป็นธรรมชาติ
4.2 ขณะที่บรรยายนำเสนอสื่อการเรียนการสอนต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้า
4.3 ประเมินความสนใจของผู้เรียน โดยใช้การกวาดสายตามองผู้เรียนให้ทั่วทั้งชั้นซึ่งเป็นการแสดงความสนใจผู้เรียน และวิเคราะห์สีหน้า ท่าทางของผู้เรียนไปพร้อมกัน
5. Require learner participation (การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน)
การใช้สื่อในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง
ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ ตอบสนองโดยเปิดเผย โดยการพูดหรือเขียน เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันที
เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่
โดยการให้ทำแบบฝึกหัด การตอบคำถาม การอภิปราย หรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม
6. Evaluate and revise (การประเมินการใช้สื่อ)
หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว
จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนทราบว่า
การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใดสิ่งที่ต้องประเมินได้แก่
การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการสอนและการใช้สื่อการเรียนในครั้งต่อ ๆ ไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ
การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการสอนและการใช้สื่อการเรียนในครั้งต่อ ๆ ไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ
ตัวอย่างบทเรียนที่ใช้ The
ASSURE Model(การใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ โดยใช้แบบจำลอง) เรื่อง
สมบัติความเป็นกรดและสมบัติความเป็นเบสของสารละลาย
1.
Analyze learners (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)
1.1 ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 1 ของโรงเรียนดำรง
ปัญญา มีนักเรียนทั้งหมด 20 คน เป็นนักเรียนหญิง 12 คน และนักเรียนชาย 8 คน
1.2
ข้อมูลเฉพาะของนักเรียน
1) ความรู้และทักษะพื้นฐาน : นักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องสารละลายและลักษณะของสารละลายในบทเรียนก่อนหน้า
และผ่านการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2) ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของ : ทักษะด้านภาษา
ทักษะการสังเกต ทักษะการใช้เหตุผล
3) เจตคติ : นักเรียนตระหนักถึงการใช้สารละลายให้ถูกคุณสมบัติและปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
2. State objectives (การกำหนดวัตถุประสงค์)
1.
นักเรียนอธิบายคุณสมบัติความเป็นกรดของสารละลายได้(พุทธิพิสัย)
2. นักเรียนอธิบายคุณสมบัติความเป็นเบสของสารละลายได้(พุทธิพิสัย)
3. นักเรียนสามารถจำแนกสารละลายกรดและสารละลายเบสได้(ทักษะพิสัย)
4. นักเรียนมีความตระหนักถึงการใช้สารละลายกรดและเบสให้ถูกคุณสมบัติและปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนอธิบายคุณสมบัติความเป็นเบสของสารละลายได้(พุทธิพิสัย)
3. นักเรียนสามารถจำแนกสารละลายกรดและสารละลายเบสได้(ทักษะพิสัย)
4. นักเรียนมีความตระหนักถึงการใช้สารละลายกรดและเบสให้ถูกคุณสมบัติและปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
3. Select instructional methods,
media, and materials (การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่)
1.
การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
โดยหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 จาก
http://www.scimath.org/ebook/sci/m1-1/student/
2
การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
โดยให้นักเรียนดูวิดีโอเรื่อง กรด – เบส ในชีวิตประจำวันแล้วเลือกกรดและเบสที่นักเรียนใช้ภายในบ้านมาคนละ 1 ชนิด
โดยให้นักเรียนดูวิดีโอเรื่อง กรด – เบส ในชีวิตประจำวันแล้วเลือกกรดและเบสที่นักเรียนใช้ภายในบ้านมาคนละ 1 ชนิด
ให้นักเรียนดูวิดีโอการทดสอบความเป็นกรดและเบส
ก่อนที่จะเรื่องการทดลองจริงในชั้นเรียน
ชนิดของสื่อ
|
ความสนใจ
|
วัตถุประสงค์
|
การใช้
|
ข้อจำกัด
|
หนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ม.1
|
ปานกลาง
|
นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเองและรู้แนวทางในการเรียน
|
ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการเรียนการสอบและเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆ
|
-
|
การทดลองในชั้นเรียน
|
มาก
|
เป็นการเพิ่มความเข้าใจในเรื่องที่เรียนและฝึกให้นักเรียนมีทักษะการสังเกตและใช้เหตุผล
|
ใช้สารละลายกรดและเบสในชีวิตประจำวันมาทดสอบด้วยวงล้อ pHซึ่งเป็นการทดลองที่ง่ายและปลอดภัย
|
ข้อจำกัดในเรื่องสารละลาย
อุปกรณ์ และเวลา
|
การจัดจำแนกสารละลายกรดเบส
|
มาก
|
นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องคุณสมบัติความเป็นกรดและเบสในชีวิตประจำวันได้
|
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจำแนกสารละลายกรดเบสที่ได้รับพร้อมบอกเหตุผลในการจำแนก
|
สารละลายอาจไม่เพียงพอสำหรับการจำแนก
อาจใช้เป็นรูปภาพแทนได้
|
สื่อวิดีโอ
|
มาก
|
เพื่อดึงความสนใจของผู้เรียนก่อนนำเข้าสู่บทเรียน
|
เป็นการ์ตูนที่แนะนำสารละลายกรดเบสที่พบรอบๆตัวนักเรียน ซึ่งเป็นการ์ตูนที่สามารถดูได้เองที่บ้าน
|
-
|
4. Utilize media and materials (การใช้สื่อ)
1.
อ่านทบทวนเนื้อหาเรื่องคุณสมบัติความเป็นกรดและเบสจากคู่มือครูและหนังสือเรียนของนักเรียน
การหาสื่อวิดีโอต้องเลือกวิดีโอที่อธิบายความเป็นกรดเบสที่ถูกต้องและมีความน่าสนใจสามารถดึงดูดนักเรียนได้
2.
ในห้องเรียนเรื่อง สมบัติความเป็นกรดและสมบัติความเป็นเบสของสารละลาย
จะต้องมีการจัดโต๊ะนักเรียนเป็นกลุ่ม ทรงตัว U ขณะทำการทดสอความเป็นกรดเบสด้วยวงล้อ
pH และการแบ่งกลุ่มจัดจำแนกสาร ขณะที่ครูเปิดวิดีโอให้ดูโดยใช้โปเจ๊กเตอร์
ให้นักเรียนนั่งพื้นรวมกันเพื่อนดูวิดีโอ
ซึ่งการจัดที่นั่งแบบนี้จะทำให้ครูสามารถเดินเข้าไปหานักเรียนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง
และครูวางสารละลายกรดและเบสกลางห้องเพื่อให้นักเรียนแต่ละกลุ่มมาหยิบใช้ได้ง่าย
3.
เตรียมผู้เรียนโดยการให้ผู้เรียนดูการ์ตูน เกี่ยวกับสารละลายที่เป็นกรดและเบสในชีวิตประจำวันเพื่อดึงดูดความสนใจและเร้าให้นักเรียนอยากรู้ว่าสารละลายใดบ้างที่มีคุณสมบัติเป็นกรดและสารละลายใดบ้าง
4.
ในการใช้แต่ละสื่อมีการสร้างข้อตกลงกับนักเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนราบรื่น
และสื่อที่ใช้เช่นสารละลายในการทดลองหรือวงล้อ pH จะต้องสร้างกฎกติกาในการใช้และให้รักเรียนแต่ละกลุ่มดูแลรักษาอุปกรณ์ตัวเองให้ดี
ขณะที่ใช้สื่อแต่ละชนิดมีการสังเกตและประเมินพฤติกรรมของนักเรียนด้วยเพื่อนำไปปรับใช้ในครั้งต่อไป
5. Require learner participation (การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน)
หลังจากการใช้สื่อหนังสือเรียน
ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายบทเรียนเพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจในเรื่องคุณสมบัติความเป็นกรดและเบสของนักเรียน
หลังจากดูการ์ตูนเรื่อง
กรด – เบส ในชีวิตประจำวันแล้วเลือกกรดและเบสที่นักเรียนใช้ภายในบ้านมาคนละ 1 ชนิด และเขียนคุณสมบัติพร้อมบอกเหตุผล
หลังจากทำการทดลองการทดสอบความเป็นกรดและเบส
และกิจกรรมจัดจำแนกความเป็นกรดและเบสในชีวิตประจำให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนอธิปรายในหัวข้อ
“ใช้สารละลายกรดเบสอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย”
และส่งตัวแทนมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
6. Evaluate and revise (การประเมินการใช้สื่อ)
6.1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- ประเมินการความสนใจของผู้เรียนที่มีต่อเนื้อหาที่สอน
อาจวัดจากการทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัด หรือตอบคำถามเกี่ยวกับวิดีโอที่ให้ดู
- ประเมินความเข้าใจในการทำกิจกรรมทั้งการทดลอง
การจำแนกสาร ด้วยการให้นักเรียนตอบคำถามง่ายๆที่ครูอธิบายให้ฟังก่อนหน้า
- การประเมินความเข้าใจและความสามารถใช้เรื่องที่สอนได้มากน้อยเพียงใด
ผ่านการทำแบบทดสอบหลังเลิกเรียน การทำปฏิบัติการ และการจัดจำแนกสารว่ามีความถูกต้องมากหรือน้อย
6.2 การประเมินสื่อและวิธีใช้
ประเมินสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน
ทั้งด้านความถูกต้อง ความสอดคล้องกับเนื้อหาและความเหมาะสมกับผู้เรียน
นอกจากนี้สื่อที่ให้สามารถดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้หรือไม่และสามารถเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหาได้หรือไม่
6.3 การประเมินกระบวนการเรียนการสอน
- แบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความรูพื้นฐานของผู้เรียนและแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน
- สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนขณะสอนและการทำกิจกรรมในห้องเรียน
- ดูการตอบสนองของผู้เรียนหลังจากสอนเนื้อหาหรือมีการใช้สื่อ อาจใช้การตอบคำถามปากเปล่าหรือวัดจากการให้ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
- สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนขณะสอนและการทำกิจกรรมในห้องเรียน
- ดูการตอบสนองของผู้เรียนหลังจากสอนเนื้อหาหรือมีการใช้สื่อ อาจใช้การตอบคำถามปากเปล่าหรือวัดจากการให้ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
https://www.5g999.co/slot
ตอบลบ